เทคโนโลยีสะอาด: เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน Cleaner Technology: Tool for Sustainable Environmental Management

227 Views  | 

เทคโนโลยีสะอาด: เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน Cleaner Technology: Tool for Sustainable Environmental Management

เทคโนโลยีสะอาด: เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Cleaner Technology: Tool for Sustainable Environmental Management

   

By:    ดร. ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์
Piyaruk Pradabphetrat, Ph.D.
Faculty of Science Technology and Agriculture
Yala Rajabhat University
piyaruk.p@yru.ac.th

     เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือเรียกว่าการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Productivity) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการให้บริการเพื่อให้ได้ผลประโยชน์และผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยการใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีของเสียเหลือทิ้งน้อยที่สุดหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย (Waste Minimization) ดังนั้น เทคโนโลยีสะอาดจึงเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งเน้นไปที่การลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด (Pollution Prevention) รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนในการผลิตไปพร้อมกัน

เทคนิคของเทคโนโลยีสะอาด
1. การลดของเสียที่แหล่งกำเนิด (Reduction at Source) เป็นวิธีการสำคัญเพื่อค้นหาต้นกำเนิดของเสียหรือมลพิษที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ เพื่อให้การผลิตที่ออกแบบนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้

(1) การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) เป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดสารมลพิษ โดยพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุดหรือยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น

(2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) และการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operational Improvement)

2. การใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยอาศัยหลักการที่ว่า ของเสียที่เกิดขึ้นจากจุดหนึ่งอาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอีกจุดหนึ่งหรือกับจุดเดิมได้

(1) การใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ซ้ำ หรือการนำทรัพยากรที่ผ่านการใช้งานมาแล้วแต่ยังคงมีคุณภาพที่จะนำไปใช้ประโยชน์กลับมาใช้ใหม่โดยตรงในขั้นตอนการผลิตเดิมหรือขั้นตอนการผลิตอื่น โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์หรือระบบการผลิต เช่น การนำน้ำหล่อเย็นกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

(2) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นการนำของเสียไปผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้อีก หรือก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่มีมูลค่าเพิ่ม (Value Added by Product) ซึ่งการนำของเสียกลับมา
ใช้ใหม่นี้ควรดำเนินการ ณ จุดกำเนิดของเสีย เพราะสามารถทำได้ง่ายและลดอัตราเสี่ยงจากการปนเปื้อนในระหว่างทางที่ขนย้าย เช่น การนำน้ำนึ่งปลาในโรงงานผลิตปลาทูน่ากระป๋องกลับมาทำซอสปรุงรส เป็นต้น

     Cleaner technology (CT), also known as green productivity, is a harmonious blend of applied technologies and techniques designed to produce environmentally friendly goods and services and maximize benefits and productivity via waste minimization and effective use of raw materials, energy, and natural resources. Hence, it focuses on pollution prevention, use of alternative raw materials, reuse, and recycle, all of which can save both the environment and manufacturing costs at the same time.

Cleaner Technology Techniques

1. Reduction at source is helps locate waste or pollution sources, thus rendering possible problem-cause analysis. It consequently ensures that the design of manufacturing system generates the least environmental impact as possible. The implementation may adhere to the following steps:   

(1) Product reformulation involves readjustment of product’s details to prevent or reduce pollutants. Products are designed to have the least environmental impact as possible or to have extended functional lifetime.

(2) Process change: Input material change, technology improvement, and operational improvement

2. Reuse or recycle is a waste management method that can be implemented in various steps. Waste originating from one point may be put to use in another or even in the same place of origin.

(1) Reuse allows manufacturing waste or some reusable resources to be used again in the same manufacturing process or other processes without compromising the product’s quality or the manufacturing system. Coolant, for instance, can be reused within the system.      

(2) Recycle is a process in which waste undergoes further processes and turned into reusable value-added by-product. Recycling should be implemented at the place of waste origin where it can be done most easily, and it also helps reduce contamination risks during transportation. For example, water used for industrial steaming of canned tuna can be recycled as ingredient for seasoning sauce.


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and