The Most Recently Enforced Regulations

454 Views  | 

The Most Recently Enforced Regulations

ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมและพัฒนากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ด้วยการต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตร ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ของประชาชน โดยกำหนดกลไกการดำเนินงานที่รัดกุมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบทางสังคม จึงนำไปสู่การปรับสถานะให้ส่วนต่างๆ ของพืชกัญชาและกัญชงเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตภายในประเทศไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  ประกอบด้วย เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง สารสกัดจากเมล็ดกัญชง สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD) เป็นส่วนประกอบรวมถึงกากที่เหลือจากการสกัดเฉพาะที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก[1]  ดังนั้น กัญชา กัญชง และสารสกัดเฉพาะส่วนที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ดังกล่าว จึงสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ภายใต้กฎหมายเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทั้งนี้ สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การนำส่วนของกัญชาหรือกัญชงมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย ต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางอาหารเท่านั้น และมีการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหารภายใต้กฎหมายอาหารตามหลักการการวิเคราะห์ความเสี่ยง

 

กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง  เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการนำพืชกัญชาหรือกัญชงในส่วนที่ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ.2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย  ข้อกำหนดในภาพรวมจะว่าด้วยการนำส่วนของกัญชาหรือกัญชงไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารโดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการบริโภคเป็นอาหาร  ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้....

 

According to the policy of the Thai Government on promotion of hemp plant to be a new cash crop development of innovative and value-added processed products of agricultural origin based on the Thai local wisdom and indigenous knowledges has been employed to create a business opportunity for local people with the aim of improving their income. This policy has been being brought forward to implement through appropriate interventions including the regulatory measures in order to avoid negative social impacts. Therefore, only certain parts of cannabis or hemp that are legally produced in Thailand have been removed from the Schedule V of narcotic substances[2]. These include bark, stems, fiber, branches, roots and leaves without sugar leaves or flowering tops of hemp or cannabis, hemp seeds, edible oil derived from hemp seeds, extracts derived from hemp seeds, and extracts derived from hemp or cannabis including extraction-residues that contain CBD and less than 0.2% of THC by weight. The legalized parts of hemp or cannabis, therefore, can be processed to make several health products.

under control of relevant laws and regulations. Regarding food industry, using parts of cannabis or hemp in food produced for commercial purposes is only allowed under the general purpose of food and its qualities and safety are controlled under the Food Law based on the risk analysis principle.

 

The Ministry of Public Health, by virtue of the Food Act B.E.2522 (1979), issued the Notification of the Ministry of Public Health (No.427) B.E.2564 (2021) Re: Food Products Containing Parts of Cannabis or Hemp to allow the use of the legally and domestically produced parts of cannabis or hemp that are excluded from the list of Narcotics in Schedule V. This notification was promulgated in line with the requirements stipulated in the Notification of the Ministry of Public Health (No.424) B.E.2564 (2021) issued by virtue of the Food Act B.E.2522 (1979) Re: Prescribed Foods Prohibited to Produce, Import, or Sale. By and large, it says parts of cannabis or hemp can be used in the food industry on the conditions that no health risks from the consumption thereof be involved.

โดย: สายันต์ รวดเร็ว  (Sayan Ruadrew)

เอกกมล  ณ น่าน   (Ekkamon  Na Nan )

ดิษญา กิตติธนวิมล   (Dissaya  Kittithanavimon)

 

Division of Food

Food and Drug Administration Ministry of Public Health

p2food@fda.moph.go.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and