กู้วิกฤตภาวะโลกร้อนด้วยฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ Salvaging the Global Warming Crisis with Product Carbon Footprint Labels

536 Views  | 

กู้วิกฤตภาวะโลกร้อนด้วยฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ Salvaging the Global Warming Crisis with Product Carbon Footprint Labels

By:    พวงพันธ์ ศรีทอง
Phuangphan Srithong
Carbon Label Manager, Low Carbon Business Certification Office
Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization)
phuangphan@tgo.or.th

 

ทำความรู้จักกับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์
    “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์” คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นเครื่องมือทางการตลาดประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผู้ผลิตและผู้บริโภคไปสู่การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 3 ประเภท
   องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นหน่วยงานที่ให้บริการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของประเทศไทยทั้งในระดับผลิตภัณฑ์ องค์กร บุคคล และกิจกรรม เพื่อรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในระดับผลิตภัณฑ์ หรือฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้หลักการรับรองตามมาตรฐานสากลทั้ง ISO 14040, ISO 14044 และ ISO 14067 โดยปัจจุบันมีเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

1. ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product; CFP)
   คือ ฉลากที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังการใช้งาน แสดงเป็นหน่วยของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq.) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์

2. ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction; CFR)
   เป็นฉลากที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และได้มีการบริหารจัดการจนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบันกับปีฐาน (ข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี) หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) แล้วปริมาณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลดลง

3. ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product; CE-CFP) 

ฉลากที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์มีการผลิตโดยมีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนตามหลักการ Circular Economy และปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าผลิตภัณฑ์เดียวกันที่ผลิตจากวัสดุใหม่ (Virgin material)

What is Carbon Footprint Label
"Carbon Footprint Label" is a mark or symbol displayed on the product packaging which acts as a type of marketing tool and is used as a mechanism to drive producers and consumers towards sustainable production and consumption, as well as to indicate participation in reducing greenhouse gas emissions.

3 Types of Carbon Footprint Certification Marks
   The Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization), or TGO, is an organization that provides services to certify Thailand's carbon footprint at the product, organization, individual, and activity levels. It conducts its certification of the carbon footprint at the product level or the carbon footprint label of the product by applying certification principles according to international standards, which include ISO 14040, ISO 14044, and ISO 14067. There are currently 3 types of carbon footprint marks, namely:

1. Carbon Footprint of Product (CFP)
   Carbon Footprint of Product (CFP) is a label indicating the amount of greenhouse gases emitted throughout the life cycle of a product, starting from the procurement of raw materials, the production process, distribution, utilization, and waste management after its use. It is expressed in carbon dioxide equivalent units (CO2 eq.) per product unit.

2. Carbon Footprint Reduction (CFR)
   Carbon Footprint Reduction (CFR) is a label indicating that the product's carbon footprint has been assessed and managed to the point where its greenhouse gas emissions have been successfully reduced and are in accordance with the specified criteria. In other words, when the current year's product's carbon footprint is compared to the base year (past data not exceeding 3 years) or compared with the performance benchmark, it shows a decrease in the amount of the product's carbon footprint.


3. Carbon Footprint of Circular Economy Product (CE-CFP)
   Carbon Footprint of Circular Economy Product (CE-CFP) is a label that informs consumers that a product is produced by using renewable resources in accordance with the Circular Economy principles and emits less greenhouse gases than the same product made from virgin material.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and