Food Grade สัญลักษณ์การันตีความปลอดภัยในบรรจุภัณฑ์อาหาร Food Grade: A Symbol Guaranteeing Safety in Food Packaging

4 Views  | 

Food Grade สัญลักษณ์การันตีความปลอดภัยในบรรจุภัณฑ์อาหาร Food Grade: A Symbol Guaranteeing Safety in Food Packaging

‘Food Grade’ สัญลักษณ์การันตีความปลอดภัยในบรรจุภัณฑ์อาหาร
‘Food Grade’: A Symbol Guaranteeing Safety in Food Packaging


   


By:        
Siriwan Tungsangprateep, Ph.D.
Senior Researcher
Thai Packaging Centre
Thailand Institute of Scientific and Technological Research
siriwan_t@tistr.or.th


            บรรจุภัณฑ์ประเภท Food Grade หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการผลิตและตัวบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบและการทดสอบโดยเฉพาะเพื่อให้สามารถสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยวัสดุที่ใช้ในการผลิตต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่บังคับใช้ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ส่งผ่านสารอันตราย หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบและกลิ่นรสของอาหาร ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องปราศจากสารปนเปื้อน รวมถึงสามารถปกป้องอาหารจากความเสี่ยงทางกายภาพ เคมี และชีวภาพได้ ดังนั้น การรับรองบรรจุภัณฑ์ประเภท Food Grade จึงมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด ได้แก่ มาตรฐานหรือข้อบังคับตามกฎหมาย การได้รับการรับรองจากหน่วยงานตามกฎหมาย และเครื่องหมายที่ใช้ในการรับรองดังกล่าว โดยมาตรฐานหรือข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ในระดับสากล ยังมีมาตรฐานสำคัญหลายฉบับที่ถูกกำหนดขึ้นจากทั้งหน่วยงานระดับชาติและหน่วยงานระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในด้านความปลอดภัยของอาหาร ได้แก่ มาตรฐาน ISO ระเบียบข้อบังคับขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) และระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรป (EU)

            สำหรับประเทศไทย ข้อบังคับตามกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 435 พ.ศ. 2565 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก โดยมีการกำหนดเกณฑ์การยอมรับของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ซึ่งครอบคลุมไปถึงพลาสติกรีไซเคิลที่ผลิตจากพลาสติกใหม่ (Virgin) และพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว (Post Consumer Recycled; PCR) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ 655 (มอก. 655) เรื่อง ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566

            สำหรับผู้บริโภคและผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท Food Grade ถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม คือ ความเหมาะสมระหว่างบรรจุภัณฑ์กับประเภทของอาหารที่จะบรรจุ เช่น หากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทนกรดกับอาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถทนความร้อนกับอาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้น การเลือกบรรจุภัณฑ์จึงไม่ควรพิจารณาเพียงแค่การได้รับการรับรองว่าเป็น Food Grade เท่านั้น แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการเฉพาะของอาหารแต่ละประเภทด้วย


          Food-grade packaging refers to materials used in the production and design of packaging that have been specifically tested to ensure safe, direct contact with food. These materials must strictly comply with legally enforced standards to ensure that they do not release harmful substances or alter the composition, taste, or flavor of the food. Additionally, such packaging must be free from contaminants and capable of protecting food from physical, chemical, and biological hazards. Therefore, the certification of food-grade packaging involves key components that must be strictly adhered to, including compliance with legally regulated standards and requirements, certification by authorized agencies, and the use of appropriate certification marks. The legal standards and regulations related to food packaging vary from country to country. However, at the international level, several key standards have been established by both national and international agencies that play a crucial role in food safety, including ISO standards, regulations of the U.S. Food and Drug Administration (USFDA) ,and European Union (EU) regulations. 

          In Thailand, key regulations include Ministry of Public Health Notification No. 435 (B.E. 2565 / 2022), which specifies the quality and standards for plastic packaging, including acceptance criteria for both "virgin plastic" and "post-consumer recycled (PCR)" plastic used in food containers. Another key regulation is the Thai Industrial Standard (TIS) 655, which covers plastic containers and utensils for food and became effective on January 3, 2023.

          For both consumers and food industry professionals, selecting food-grade packaging is a fundamental step in ensuring food safety. However, it’s equally important to consider the compatibility between the packaging material and the specific type of food it will contain. For example, using packaging that is not resistant to acids for highly acidic foods, or using materials that cannot withstand high temperatures for hot, freshly prepared meals, can pose a risk to consumer health. Therefore, when choosing packaging, it’s essential to look beyond just food-grade certification and ensure that the packaging’s properties align with the specific characteristics and requirements of the food it will hold.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and