323 จำนวนผู้เข้าชม |
Translated and Compiled By: กันต์ธร หลีนวรัตน์
Kunthorn Leenavarat
Assistant Editor
Food Focus Thailand Magazine
editor@foodfocusthailand.com
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก และยังตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่มีต่อสุขภาพของสาธารณชนด้วย การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบไปในทุกภาคส่วน และในช่วงเวลาที่มีการระบาดอย่างหนักนั้น โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่มก็ยังคงมีความจำเป็นต้องเดินหน้าผลิตสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะสินค้าเหล่านี้มีผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกำหนดมาตรการรับมือวิกฤตในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมีการวางแผนสำรองไว้ แต่โรงงานอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารจำนวนมาก กลับพบว่าพวกเขาไม่มีความพร้อมในการรับมือวิกฤตด้านโรคระบาดอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะในเรื่องของความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือการเปลี่ยนมาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสถานการณ์การเกิดโรคระบาด
The COVID-19 pandemic has brought the critical nature of the global food manufacturing industry into clear focus and highlighted the essential role that food and beverage producers play in the maintenance of public health. While the impacts of the virus have been felt across all sectors, food and beverage manufacturers whose essential operations have continued throughout the duration of the evolving crisis and whose products have distinct health and safety considerations face unique and acute challenges.
Despite having crisis management and business continuity plans in place, many in the food industry have found themselves ill-prepared to handle the multifaceted impacts of the pandemic. Challenges around rapid shifts in market demand, staffing and social distancing, changing regulations need for a resilient approach to product risk management from pandemic.
ตัวอย่างรูปแบบการจัดการความเสี่ยงหลัง COVID-19
1. สถานการณ์จำลอง...ก็จำเป็น
สภาวการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดการตื่นตระหนกและความไม่มั่นคง แพร่ออกไปเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร แต่วัตถุดิบที่มีกลับสวนทางกับความต้องการนั้น เพราะไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุดังกล่าว จึงทำผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการอันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้นี้
การกำหนดแผนสถานการณ์จำลองจึงมีจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID -19 และการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่นี้ อย่างไรก็ตามธุรกิจควรพิจารณาถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงแบบองค์รวม ผลกระทบต่อบริษัท รวมถึงปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดด้วย โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการกับวิกฤตอาจเริ่มต้นการประเมินจากคำว่า “จะเป็นอย่างไรถ้า...” และพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ จากนั้นบริษัทจึงเริ่มกำหนดโครงร่างในการจัดการกับปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันรูปแบบอื่น การกำหนดปัญหาหรือความท้าทายเช่นนี้ จะช่วยให้ธุรกิจมีการตรวจสอบ เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาภายใต้ขีดความสามารถที่มีอยู่เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
2. คงไว้ซึ่งวิถีแห่งความปลอดภัย
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้สามารถผลิตสินค้าได้น้อยลง เนื่องจากการเจ็บป่วยของพนักงาน การกักตัว ความวิตกกังวล และความหวาดระแวงในการกลับไปทำงาน ในขณะเดียวกันบริษัทผู้ผลิตก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ โรงงานผู้ผลิตอาจจะต้องมีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งพนักงานไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งใหม่ชั่วคราว หรือมีการว่าจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่มเติม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพ ตลอดจนความปลอดภัยของอาหาร ที่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดพลาดในการผลิต หรือการขาดการควบคุมระบบที่เหมาะสม ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเรียกคืนสินค้าขึ้นได้
เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารด้วยการตรวจสอบให้มั่นใจว่าพนักงานผ่านการฝึกฝนมาอย่างเหมาะสม และมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานและมาตรการด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี