417 Views |
ยาปฏิชีวนะถูกใช้อย่างแพร่หลายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อควบคุมและรักษาโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง แต่เพราะสามารถหาและเข้าถึงยาได้ง่ายและยามีประสิทธิภาพที่ดี จึงนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด จากรายงานทางสถิติพบว่า ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ตกค้างอยู่ในกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจประเภทต่างๆ เช่น โคเนื้อ สุกร แกะ และไก่ ซึ่งการตกค้างของยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินกำหนด สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ และถ้าหากได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสมในระยะยาวอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปฏิกิริยาการแพ้และก่อให้เกิดมะเร็งได้ในที่สุด ที่สำคัญไปกว่านั้น ยาปฏิชีวนะที่ตกค้างอาจจะนำไปสู่การกลายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ที่ดื้อยา อันจะส่งผลร้ายต่อมนุษย์และเกิดโรคในสัตว์ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ปัญหาข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง และเป็นปัญหาสำคัญของวงการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น “ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใดหรือประเทศใดก็ตาม"
Antibiotics are widely used in animal farms to control and cure bacterial infections. They are even used for growth promotion in animals. Due to their high availability, easily accessible, and high efficiency, antibiotics are used inappropriately. From the statistical report, those antibiotics remain in the economic animals like beef, swine, and poultry. Excessive antibiotic residues could harm human health. Long-term exposure to an inappropriate amount of antibiotics leads to the complications such as allergies and cancer. More importantly, the antibiotic residue could lead to bacterial mutation with antibiotic resistance, causing harm in humans and incurable diseases in animals. The problem has widely spread and become a significant problem in public health for all countries worldwide. World Health Organization (WHO) announced antibiotic resistance as “the most urgent and important issue in every region around the world, affecting everyone no matter what age or country”.