“The Most Recently Enforced Regulation”

301 Views  | 

“The Most Recently Enforced Regulation”

  •   การปรับปรุงข้อกำหนด พืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ ที่ห้ามใช้ในอาหาร (ลำดับที่ 52 กระท่อม): ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย


  •   Revision of the regulations on botanicals, animals or parts of botanicals or animals prohibited when used in food (the Item No.52 Kratom): Notification of the Ministry of Public Health (No.430) B.E.2564 (2021) Issued by virtue of the Food Act B.E.2522 (1979) entitled Amendment of the Notification of the Ministry of Public Health (No.424) B.E.2564 (2021) Re: Prescribed Prohibited Food to be Produced, Imported, or Sold


โดย:    ดิษญา กิตติธนวิมล

กองอาหาร 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กระทรวงสาธารณสุข

p2food@fda.moph.go.th

By:       Dissaya Kittithanavimon

Division of Food

Food and Drug Administration

Ministry of Public Health

p2food@fda.moph.go.th


กระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.) เป็นพืชไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี รวมถึงตอนบนของประเทศมาเลเซีย สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยจะเป็นชนิดก้านใบแดง ก้านใบเขียว และหางกั้ง กระท่อมมีสารต่างๆ ที่มีสรรพคุณทางยาหรือเสริมสุขภาพ เช่น แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ไตรเทอร์ปีน สารประกอบฟีนอลิก เป็นต้น บางพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทยมีการนำกระท่อมมาใช้ในชีวิตประจำวันตามวิถีชาวบ้าน ถือเป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

หลักจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการพัฒนากระท่อมให้เป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยปลดล็อคกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนสามารถครอบครองกระท่อม เพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามรูปแบบการบริโภคตามวิถีชาวบ้านตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น มีลักษณะการบริโภคเป็นสมุนไพร ยาแผนโบราณ เพื่อรักษาโรคทางเดินอาหารและมีฤทธิ์ระงับปวด โดยไม่ปรากฏข้อมูลการใช้กระท่อมตามตำราอาหารหรือเอกสารอ้างอิงการใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ถือว่าไม่มีประวัติการบริโภคเป็นอาหาร ทำให้เข้าลักษณะเป็นอาหารใหม่ (Novel food) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารใหม่ ซึ่งกำหนดให้การนำวัตถุใดที่ไม่มีประวัติการบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยตามหลักวิชาการจากหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ 

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารบนพื้นฐานการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบริโภคอาหาร กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

:

(สามารถอ่านประกาศทั้งหมดได้ในบทความเต็ม)

 

Kratom or Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. is a middle-sized plant commonly found in the forests of the southern Thailand, such as Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Trang, Satun, Phatthalung, Songkhla, Yala, Pattani, and Narathiwat. It also grows in some central Thai provinces, such as Pathum Thani, and in the northern Malaysia. The red-vein, green-vein, and mantis shrimp-tailed (Hang Kang) kratoms are the strains native to Thailand. Kratom contains multiple substances with medicinal or health-promoting properties, such as alkaloid, flavonoid, triterpene, and phenolic compounds. In some regions, especially in the southern Thailand, it has long been used in traditional remedy and is a part of the local folkways, culture, and wisdom.

According to the Royal Thai Government policy on promotion of Kratom plant as cash crops. Currently, kratom has been removed from the Schedule V of narcotic substances listed under the amended Narcotics Act on the 24th of August of B.E.2564 (2021), so that the consumption, production, and possession of kratom, for any purpose and in any quantity or form are enable. Nevertheless, the consumption of kratom according to the local folkways, as far as facts are concerned, is largely for herbal and traditionally medicinal purposes, such as treatment of gastrointestinal disorders and pain relief. There is no information on the history of being consumed as food in any documented evidence that indicates its culinary usage. Therefore, Food products containing kratom are considered as novel food under the Notification of the Ministry of Public Health (No.376) B.E.2559 (2016) regarding novel food of which safety for consumption shall be assessed prior to being sold in Thailand. 

 

Therefore, in order to support the research and development of food products containing kratom on the basis of consumer protection, the Ministry of Public Health has issued, by virtue of the Food Act B.E.2522 (1979), the Notification of the Ministry of Public Health (No.430) B.E.2564 (2020) entitled Amendment of the Notification of the Ministry of Public Health (No.424) B.E.2564 (2021) issued by virtue of the Food Act B.E.2522 (1979) Re: Prescribed Prohibited Food to be Produced, Imported, or Sold. The important points are summarized as follows...

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and