843 จำนวนผู้เข้าชม |
‘Upcycling’ หรือการนำสิ่งๆ หนึ่งกลับมาทำใหม่ อย่างการนำเอาเสื้อผ้าเก่ามาทำให้ร่วมสมัยอีกครั้ง หรือการนำข้าวของเครื่องใช้เก่ามาซ่อมแซมปรับปรุงใหม่ แม้แต่ในอุตสาหกรรมอาหารเองก็มีการนำอาหารเหลือทิ้ง ซึ่งเป็นประเด็นที่น่ากังวลทั่วโลก กลับมาทำให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่อีกครั้งเช่นกัน
แล้วการผลิตแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นการอัพไซเคิลอาหาร? เราอาจนิยามความหมายของคำว่า Upcycling นี้ได้ว่า “การนำเอาวัตถุดิบที่ไม่ได้ถูกบริโภค มาเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ตรวจสอบได้ในห่วงโซ่อุปทานและให้ผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม” หรือหากจะให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง และเศษอาหารที่ต้องถูกกำจัดโดยเตาเผาหรือฝังกลบ กลับมาทำเป็นอาหารที่บริโภคได้อีกครั้ง
การอัพไซเคิลอาหารยังทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและโภชนาการหลายประการ ลองพิจารณาดูว่า หนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลกจะถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะ ในขณะที่หนึ่งในเก้าของประชากรโลกต้องทนทุกข์ทรมานจากสภาวะอดอยาก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราต้องพัฒนานวัตกรรมในการเปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งให้เป็นอาหารที่บริโภคได้
องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่า มีอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ถูกทิ้งก่อนที่จะได้วางขายในร้านต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 19 ของขยะอาหารถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งการเน่าเสียของอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซมีเทน (Methane) ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม
Upcycled Foods Association (UFA) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นิยามอาหารอัพไซเคิลไว้ว่า เป็นอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการลดขยะอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพดีที่เหลือจากช่องว่างของกระบวนการผลิตอาหาร โดยจะต้องผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ส่วนเกินหรือวัตถุดิบที่หากทิ้งไปจะเสียเปล่า อาหารที่ถูกเพิ่มมูลค่า มนุษย์สามารถบริโภคได้ หรืออาจนำไปใช้ได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทั้งนี้ อาหารที่ผ่านการอัพไซเคิลจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่สามารถตรวจสอบ และการันตีได้ ว่าสามารถลดแรงกดดันของปัญหาสิ่งแวดล้อม
Upcycling used to be about redoing old clothes to make them fashionable again or revamping aged furniture. Amid concerns about how much food waste there is in the world, upcycling is coming to the food industry.
What qualifies as upcycled foods? According to a newly coined definition, they are ones that "use ingredients that otherwise would not have gone to human consumption, are procured and produced using verifiable supply chains, and have a positive impact on the environment." Basically, it means no longer putting agricultural leftovers in the trash and into incinerators and landfills but back on our plates.
The upcycling of food also has a lot of environmental and nutrition benefits. Let's consider that up to a third of the global food produced is wasted. While around one-ninth of the total population suffers from hunger, it is clear that we need to develop new and innovative ways to divert food from being wasted.
The United Nations has estimated that more than US$400 billion of food are wasted before reaching the stores. Furthermore, food waste accounts for 19% of all waste deposited in landfills. Their decay directly contributes to greenhouse gas production, especially methane, which significantly affects climate change.
The Upcycled Foods Association (UFA) of the United States defines it as "food that consists of reducing food waste, creating nutritious and high-quality food products from the nutrients that escape through the cracks in the food system"—made from by-products or ingredients that would otherwise be wasted. Value-added products. Safe for human consumption but can also be used in cosmetics. In addition, upcycled food must be part of an auditable supply chain that guarantees its provenance and ensures that it reduces pressure on environmental problems.