483 Views |
By: ศ.ดร. ภาณุวัฒน์ สรรพกุล
Prof. Panuwat Suppakul, Ph.D.
Department of Packaging and Materials Technology
Faculty of Agro-Industry
Kasetsart University
panuwat.s@ku.ac.th
ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย โดยหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและกระบวนการทำงานภายในที่ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านช่องทางใหม่ รวมถึงโอกาสในการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับมาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรืออุตสาหกรรม 4.0 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่มีแนวโน้มในการปรับตัวเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ รวมถึงระบบอุตสาหกรรมที่ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาใช้ในการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างเครื่องจักร และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแบบระบบอัตโนมัติ ช่วยยกระดับของการสื่อสารและการตรวจสอบระบบ รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืน โดยเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเปล่าประโยชน์ทางอาหาร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเสริมหน้าที่หลักของการบรรจุ ได้แก่ การปกป้องคุ้มครองผลิตภัณฑ์ การให้ข้อมูล และการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับสมบัติของวัสดุทางการบรรจุ และระบบการบรรจุแบบแอคทีฟ อินเทลลิเจนต์ และคอนเน็กต์ ตามลำดับ โดยผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 คาดการณ์ว่าตลาดบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะทั่วโลกจะมีมูลค่า 39.56 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2567 และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 60.49 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2575 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.40 ในช่วงปี พ.ศ. 2566-2575 และพบว่าการวิจัยด้านบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยคิดเป็นจำนวนการตีพิมพ์เฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะกำลังได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย ซึ่งสามารถที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ ในฐานะผู้ประกอบการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและด้านการเปลี่ยนรูปบรรจุภัณฑ์อาหาร ตามลำดับ
During the last 5 years, digital disruption. One of the examples that can be seen is that digital technology was adopted into the food and packaging business in terms of business model or process adaptations, resulting in monetization opportunities via new channels and more value-creation opportunities for businesses in association with the adoption of the fourth industrial revolution, or Industry 4.0. Throughout this, fundamental shifts are taking place in how the global production and supply network operates through the ongoing automation of traditional manufacturing and industrial practices using modern smart technology, large-scale machine-to-machine communication (M2M), and the Internet of Things (IoT). This integration leads to increased automation, improved communication and self-monitoring, and environmental management for security and sustainability. Smart packaging technology enables us to solve these problems related to food waste, which allows for the enhancement of major packaging functions such as protection to maintain product quality, information to increase consumer safety, and communication to leverage by connecting with digital technology through packaging material properties and packaging systems: active, intelligent, and connected packaging, respectively. As an impact of COVID-19, the global smart packaging market size is forecast to reach a value of USD 39.56 billion in 2024 and is projected to be worth around USD 60.49 billion by 2032, growing at a CAGR of 5.40% from 2023 to 2032, and research on smart food packaging has significantly increased every year with exponential growth. The average annual increase in publications is approximately 20%. From these data, it is envisaged that smart packaging technology has been gaining traction among many parties and expanding into future commercialization, which is directly useful for food product manufacturers or brand owners and simultaneously sustainably beneficial to the food and packaging industries, as food product processors and food packaging converters, respectively.