อาหารฟังก์ชันกับการกำจัดเซลล์ซอมบี้: ขอบเขตใหม่ของการวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Functional Foods in the Battle Against Zombie Cells: A New Frontier in Senescence Research for Non-Communicable Disease Mitigation

599 Views  | 

อาหารฟังก์ชันกับการกำจัดเซลล์ซอมบี้: ขอบเขตใหม่ของการวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Functional Foods in the Battle Against Zombie Cells:  A New Frontier in Senescence Research for Non-Communicable Disease Mitigation

By:    รศ.ดร. ศศิธร ชูศรี
Assoc. Prof. Sasitorn Chusri, Ph.D.
School of Health Science and Biomedical Technology Research Group for Vulnerable Populations
Mae Fah Luang University
sasitorn.chu@mfu.ac.th

  

กำจัดเซลล์ซอมบี้ ต้นเหตุของความชราด้วยสารสำคัญในน้ำมันมะกอก

     นอกเหนือจากการป้องกันโรคแล้ว อาหารฟังก์ชันยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากเซลล์เสื่อมชราได้ จากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยทั่วโลก จึงส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น ซึ่งอาหารฟังก์ชันได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการหรือช่วยชะลอความเสื่อมชรา โดยเซลล์ซอมบี้ หรือที่รู้จักในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์แก่ (Senescent cells) เซลล์ชนิดนี้จะหยุดการแบ่งตัวโดยไม่เข้าสู่วงจรการตายแบบปกติ (Apoptosis) ซึ่งการตายของเซลล์จะมีรูปแบบเฉพาะตามที่ได้มีการโปรแกรมไว้แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์เหล่านี้จะยังคงอยู่และถูกสะสมไว้ภายในร่างกาย โดยจะมีการแสดงออกมาด้วยคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไปซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับความชราและก่อให้เกิดโรคที่ตามมากับอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากได้เน้นย้ำว่าสารประกอบที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากอาหารสามารถกำจัดเซลล์เสื่อมสภาพและลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของเซลล์ได้ โดยได้มีการค้นพบสารที่มีชื่อว่าสารเซโนไลติกส์ ซึ่งออกฤทธิ์อย่างจำเพาะในการกำจัดเซลล์ชราและได้ถูกพัฒนาประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันและรักษาโรค NCDs

     ตัวอย่างเช่น โอลิโรพีน ซึ่งเป็นเซโคริรอยด์ไกลโคไซด์ที่ได้มาจากน้ำมันมะกอก รวมถึงไฮดรอกซีไทโรโซลสผลผลิตจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของโอลิโรพีน ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านความเสื่อมของเซลล์ และมีความสัมพันธ์กับการยืดอายุขัยในสภาวะที่เกิดจากความเครียดทั้งแบบปกติและแบบออกซิเดชัน โดยผลการวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า โอลิโรพีนอาจช่วยกำจัดเซลล์แก่ที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อข้อต่อ ส่งผลให้สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงอาจช่วยป้องกันหรือระงับการลุกลามของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากงานวิจัยมากมายที่ได้มีการทดสอบผลในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองแล้ว การวิจัยทางคลินิกยังยืนยันอีกว่าการบริโภคสารสกัดจากใบมะกอกที่อุดมไปด้วยโอลิโรพีนขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ติดต่อกัน สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนว่าสามารถลดความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบและคลายตัวได้ รวมถึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และลิโพโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) นอกจากนี้ การทดสอบทางคลินิกจำนวนมากยังได้ยืนยันผลการทดสอบว่าการบริโภคน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทเสื่อมได้อีกด้วย

Slaying Zombie Cells that The Cause of Aging within Olive Oil

     Beyond disease prevention, functional foods can help mitigate the detrimental effects of cellular senescence. With the global population aging, there is a heightened emphasis on preserving health and quality of life in later years. Functional foods are critical in managing or decelerating age-related concerns in this context. Zombie cells, scientifically known as senescent cells, are characterized by their cessation of division without undergoing the typical programmed cell death or apoptosis process. These cells persist within the body, accumulating progressively over time. They exhibit a range of distinct attributes and are significantly implicated in aging and the pathogenesis of age-related diseases. Numerous research efforts have underscored that bioactive compounds derived from foods can eliminate senescent cells and mitigate cellular stress factors. In the field of drug discovery research, senolytics, defined as agents that selectively target and eliminate senescent cells, have been developed and demonstrate promising efficacy in the prevention and treatment of age-related NCDs. For example, oleuropein, a secoiridoid glycoside derived from olive oil and its metabolite hydroxytyrosol, has demonstrated properties that counteract cellular senescence and has been associated with lifespan extension in normal and oxidative stress-induced conditions. Interestingly, recent findings have indicated that oleuropein may facilitate the clearance of senescent cells within joint tissues, thereby potentially preventing or halting the progression of osteoarthritis. In addition to the copious findings from in vitro and in vivo studies, clinical research has corroborated that the intake of olive leaf extract, rich in oleuropein at a dosage of 500 mg administered twice daily for eight consecutive weeks, correlated with a substantial decrease in systolic and diastolic blood pressure, as well as reductions in triglyceride and low-density lipoprotein (LDL) cholesterol levels. Moreover, numerous clinical investigations have disclosed an association between consuming extra-virgin olive oil and diminished risk for cardiovascular and neurodegenerative diseases.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  and